ความพึงพอใจต่อผลผลิตและบริการของสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ / เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ฯ
จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพต่อ ผลผลิตและบริการของสำนักฯ จำนวน 13 รายการ ในปีงบประมาณ 2551 โดยใช้แบบสอบถามที่ส่งถึงผู้รับบริการที่เกี่ยวข้องของแต่ละผลผลิต/บริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เมื่อนำมาวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลทางสถิติเป็น ค่าแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยให้น้ำหนักคะแนนความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวทางของ Likert จากมากที่สุด ถึง น้อยที่สุด และแบ่งเกณฑ์วัดค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ เป็น 5 ระดับเช่นกัน พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับ พึงพอใจปานกลาง ถึง พึงพอใจมาก ผลผลิต/บริการที่ได้รับการประเมินในระดับพึงพอใจมาก จากผู้ที่เกี่ยวข้อง เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (http://dmsic.moph.go.th) คู่มือการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และวารสารเภสัชกรรมคลินิก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลสำรวจความพึงพอใจต่อผลผลิตและบริการของสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ / เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ฯ โดย คณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในปีงบประมาณ 2551 สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (สรส.)ได้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพต่อผลผลิตและบริการของสำนักฯ จำนวน 13 รายการ เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อผลผลิต/บริการดังกล่าว รวมทั้งรับทราบปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาประกอบการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้มากยิ่งขึ้นต่อไป โดยใช้แบบสอบถามร่วมซึ่งจัดทำขึ้นตามมติของคณะกรรมการสนับสนุนบริการของสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ก. ข้อมูลทั่วไป ข. ความพึงพอใจต่อผลผลิตและบริการ (ที่สอบถาม) ของสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และ ค. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ จัดส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายของผลผลิต/บริการนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใน รพศ. รพท. รพช. การวิเคราะห์ข้อมูลรวบรวมจากแบบสอบถามที่ตอบกลับ ประมวลผลข้อมูลทางสถิติเป็น ค่าแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยให้น้ำหนักคะแนนความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวทางของ Likert จากมากที่สุด ถึง น้อยที่สุด และแบ่งเกณฑ์วัดค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ เป็น 5 ระดับเช่นกัน ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ ต่อผลผลิต/บริการทั้ง 13 รายการ สรุปได้ดังตารางที่ 1โดยพบว่า อยู่ในระดับพึงพอใจปานกลาง ถึง พึงพอใจมาก ซึ่งผลผลิต/บริการที่ได้รับการประเมินในระดับพึงพอใจมาก จากผู้ที่เกี่ยวข้อง เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (http://dmsic.moph.go.th) คู่มือการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และวารสารเภสัชกรรมคลินิก ตารางที่ 1 ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการจากสถานบริการสุขภาพต่อผลผลิต / บริการของสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ความพึงพอใจต่อ “ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (http://dmsic.moph.go.th)”ในการสำรวจความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ฯ แบบสอบถามร่วมที่จัดทำขึ้นถูกจัดส่งไปยังหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข สสจ.ทุกจังหวัด หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมรพศ. /รพท. / รพ.สังกัดกรมอื่น ๆ ทุกแห่ง และหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน รพช.ทุกแห่ง รวมจำนวน 946 ชุด และได้รับการตอบกลับจำนวน 456 ชุด คิดเป็นร้อยละ 48.2 โดยที่ โรงพยาบาลศูนย์มีร้อยละของการส่งแบบสอบถามกลับมากที่สุด (ร้อยละ 72.00) รองลงมาคือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั่วไป หน่วยงานสังกัดกรมอื่นๆ และโรงพยาบาลชุมชน (ร้อยละ 60.00, 55.71, 51.11 และ 31.74) ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางที่ 2 ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 98.46 เป็นเภสัชกร โดยจากการสอบถามเกี่ยวกับ สื่อที่ทำให้รู้จักสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพมากที่สุด พบว่าเป็น สื่อประเภท เว็บไซต์ (ร้อยละ 80.92 ) รองลงมาคือ หนังสือราชการ การประชุมสัมมนา สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ การนำเสนอผลงาน/ประชุมวิชาการ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 64.69 , 51.75 , 22.81 , 18.64 และ 14.25 ตามลำดับ ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามประเภทหน่วยงาน
สำหรับ “ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข” นั้น พบว่า เป็นที่รู้จักของผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 95.18 และได้นำไปใช้ร้อยละ 68.2 โดยผู้ตอบแบบสอบถามกว่าร้อยละ 58 มีระยะเวลาในการใช้ประโยชน์อยู่ในช่วง 1 – 3 ปี และในกลุ่มผู้ที่ไม่รู้จักเว็บไซต์นี้ ส่วนใหญ่มีความต้องการให้ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม (ร้อยละ 72.73) จากการประเมินความคิดเห็นของผู้รับบริการในแบบสอบถามที่ตอบกลับดังกล่าว พบว่า ความพึงพอใจต่อ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ฯ ในภาพรวม อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( x̄= 3.64, S.D.= 0.69) โดยค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในแต่ละด้านอยู่ในระดับพึงพอใจมากเช่นกัน เรียงลำดับจากคะแนนสูงสุดที่ได้รับดังนี้ 1. ด้านเว็บไซต์ 2. ด้านคุณภาพบริการ และด้านการใช้ประโยชน์ 3. ด้านการบริการ 4. ด้านการมีส่วนร่วม รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 3ตารางที่ 3 ภาพรวมความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (http://dmsic.moph.go.th)
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดความพึงพอใจแต่ละด้าน พบว่า แต่ละรายการได้รับการประเมินในระดับพึงพอใจมาก ยกเว้น รายการ มีการปรับปรุงผลผลิตและบริการตามข้อเสนอแนะ ซึ่งมีระดับ พึงพอใจ ปานกลาง ( 3.36 ) โดยรายการที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล (3.93) รองลงมา คือ ความสอดคล้องกับนโยบายและความต้องการของหน่วยงาน (3.77) การใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานด้านบริหาร (3.76) การจัดวางรูปแบบ หมวดหมู่ กลุ่มข้อมูล (3.76) ช่องทางติดต่อในการขอรับบริการ (3.71) ตามลำดับ ส่วนของปัญหาอุปสรรคในการใช้บริการเว็บไซต์ ฯ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นมานั้น ได้แก่ ด้านการเข้าใช้บริการเว็บไซต์ซึ่งบางครั้งไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้หรือใช้เวลา load นาน ด้านการแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานสนทนา(Webboard) ซึ่งมี spam เข้ามารบกวนค่อนข้างมาก และด้านระบบการรายงานข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์ ซึ่งบางท่านไม่ต้องการให้จำกัดช่วงเวลาในการเข้ารายงานข้อมูล และบางท่านต้องการให้ลดจำนวนช่องที่เติมข้อมูลลง และสำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง นั้น มีทั้งด้านการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์โดยหลายท่านเห็นว่า ควรประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูล ฯ ให้เป็นที่รู้จักมากกว่าที่เป็นอยู่ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะใช้ข้อมูลไปปฏิบัติงานได้โดยตรงมากยิ่งขึ้น ด้านรูปแบบการนำเสนอในเรื่องของความทันสมัย การอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล การแบ่งหมวดหมู่ของข่าวสาร ด้านข้อมูลที่ให้บริการในเรื่องของความเป็นปัจจุบันของข้อมูล ความครอบคลุมข้อมูลด้านวิชาการ ข้อมูลสนับสนุนการบริหารเวชภัณฑ์ ด้านระบบการรายงานข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์ ในเรื่องของการพัฒนาระบบรายงานออนไลน์แทนรายงานด้วยกระดาษ การลงข้อมูลรายงาน การแจ้งเตือนช่วงเวลาการรายงาน รายงานสรุปการจัดส่งข้อมูล การนำเสนอสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์/ข้อมูลจัดซื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นเพิ่มเติม เกี่ยวกับบริการข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งศูนย์ข้อมูล ฯ จัดหามานำเสนอบนเว็บไซต์ รวมทั้งจัดส่งให้ทาง e-mail แก่สมาชิกผู้บริหารเวชภัณฑ์ เภสัชกร และผู้สนใจ โดยได้รับคำนิยมและกำลังใจให้ดำเนินการต่อไปด้วยเห็นว่า มีประโยชน์ ทำให้ได้รับทราบข้อมูลอย่างรวดเร็ว ทันเวลา โดยสรุป ผลการประเมินความพึงพอใจ รวมทั้งปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นเพิ่มเติมที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีต่อ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ฯ รวมทั้งผลผลิต/บริการอื่น ๆ ของสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในครั้งนี้ จะเป็นสิ่งสะท้อนอย่างดีสำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา และเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงระบบการให้บริการและมาตรฐานคุณภาพของผลผลิตต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลผลิต / บริการที่มีเพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายของผู้เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์สูงสุดต่อไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มา: สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ |