ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข

นโยบายการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์



1. หลักการและเหตุผล
 ในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อลดภาระทางการเงินแก่ผู้ป่วยที่ใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐ สถานพยาบาลภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อลดต้นทุนการให้บริการลง การปรับตัวด้านบริหารเวชภัณฑ์จะมีศักยภาพสูงสุดในการลด ต้นทุนบริการ เพราะมีสัดส่วนรายจ่ายสูง ยาเป็นสินค้านำเข้าทั้งในรูปยาสำเร็จรูปและวัตถุดิบ ราคายาจึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง การปรับตัวด้านการบริหารยา นอกจากเป็นการลดภาระแก่ผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม 

2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ระบบบริหารเวชภัณฑ์ในสถานพยาบาลทุกระดับในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในระบบย่อย ได้แก่ การคัดเลือก (Selection) การจัดหา (Procurement) การกระจาย (Distribution) และการใช้ (Use) ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงได้ยาดี มีคุณภาพ ราคาประหยัด และมีการสั่งใช้อย่างสมเหตุสมผล 

3. หลักการ
กระทรวงสาธารณสุข กำหนดหลักการในการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ ดังนี้

3.1 ให้ยึดกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อ ทั้งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข 

3.2 ให้มีการวางแผนโดยผู้เกี่ยวข้องกับการใช้ยามีส่วนร่วมกันในการบริหารเวชภัณฑ์ โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการในทุกระดับ และมีแผนการจัดซื้อที่เป็นรูปธรรมชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละหน่วยงาน

3.3 การตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ต้องอาศัยข้อมูลทั้งในเรื่องปริมาณและราคาเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวที่ถูกต้อง

3.4 พัฒนาระบบข้อมูลอ้างอิงในเรื่องราคาเวชภัณฑ์ (Reference price) ที่หน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้เป็นฐาน ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการจัดซื้อ และการกำกับติดตามและตรวจสอบได้ 

3.5 บัญชีรายการยาของสถานพยาบาล เป็นบัญชีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีจำนวนรายการยาน้อยที่สุดเท่าที่ จำเป็น และใช้ข้อมูลด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ ความปลอดภัย และราคา ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ คัดเลือกยา 

3.6 ระบบการจัดหายามีประสิทธิภาพ เพิ่มอำนาจต่อรองในการจัดหายาร่วมกันในระดับจังหวัด กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกคุณภาพยาที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหา

3.7 ระบบการบริหารคลังเวชภัณฑ์มีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนยาดีขึ้น ลดปริมาณยาสำรองในคลังลง เพื่อลดต้นทุนการสำรองยาและการบริหารยาลง

3.8 การสั่งใช้ยาเป็นไปอย่างเหมาะสมและสมเหตุสมผล มีระบบข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการใช้ยาแก่แพทย์ มีระบบติดตามและประเมินผลการใช้ยา (Drug Therapy Monitoring, Drug Use Evaluation and Feedback)

3.9 มีการรายงานเพื่อการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ จากจังหวัดและส่วนกลางเป็นระยะ ๆ รวมทั้งหน่วยานภายนอก เช่น ส.ต.ง 

4. มาตรการ

ประเด็น มาตรการ เป้าหมาย
1. การบริหารจัดการ ด้านยาและเวชภัณฑ์ ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด/ผู้อำนวยการ/หัวหน้าหน่วยงาน รับผิดชอบ
1.1 ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ยาและเวชภัณฑ์ มีส่วนร่วม ในการบริหาร จัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ในทุกระดับ โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ
1. มีคณะกรรมการในทุกระดับ
  • ระดับจังหวัด มีคณะกรรมการ บริหารเวชภัณฑ์ระดับจังหวัด
  • ระดับอำเภอ มีคณะกรรมการประสานงาน สาธารณสุขระดับอำเภอ
  • ระดับหน่วยงาน มีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โดย คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีจัดซื้อวัสดุการแพทย์อาจคัดเลือกตัวแทนจากทันตแพทย์รังสีแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาลเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย
  1.2 คณะกรรมการรับผิดชอบ
  • กำหนดนโยบายด้านเวชภัณฑ์ในแต่ละระดับ
  • ควบคุม กำกับ ติดตาม ให้ดำเนินการ ตามระเบียบและมาตรการ
  • ประเมินและร่วมแก้ไขปัญหาด้านเวชภัณฑ์
  • รายงานผลการดำเนินการตามแบบฟอร์มที่กำหนด ให้ระดับที่เหนือขึ้นไปและส่วนกลางทราบ
1. มีการประชุมไม่น้อยกว่าปีละ 3 ครั้งและมีบันทึกการประชุมชัดเจน พร้อมให้ตรวจสอบ
2. การกำหนด ให้ผู้อำนวยการ/หัวหน้าหน่วยงาน รับผิดชอบ  
ความต้องการ 2.1 ให้มีแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของหน่วยงานที่ชัดเจน 1. มีแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ประจำปี
2. กรณีที่ต้องมีปรับแผนให้เสนอคณะกรรมการ แต่ละระดับพิจารณาอนุมัติ
  2.2 การขออนุมัติซื้อจะต้องเสนอข้อมูลประกอบการพิจารณาที่ครบถ้วน 1. การขออนุมัติซื้อจะต้องเสนอข้อมูล
  • ปริมาณในการใช้ที่ผ่านมา
  • จำนวนรายการที่เหลือ
  • จำนวนที่จะซื้อ
  • ราคาที่จัดซื้อครั้งหลังสุด
  • ราคาที่จะซื้อในครั้งนี้
  • ราคากลาง หรือราคาอ้างอิง (ถ้ามี)
3. บัญชีรายการยา ของโรงพยาบาล ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล/หัวหน้าหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้
3.1 ลดจำนวนรายการยาในบัญชีรายการยาของโรงพยาบาลลง โดยกำหนดจำนวนรายการที่ควรมีในโรงพยาบาลแต่ละระดับให้ชัดเจน
3.2 เพิ่มการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยกำหนดสัดส่วน จำนวนรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในบัญชีรายการยา ของโรงพยาบาลแต่ละระดับที่ชัดเจน
1. จำนวนรายการยาใน บัญชีรายการยา
  • รพศ. (ร.ร.แพทย์) ไม่เกิน 750 รายการ
  • รพศ. ไม่เกิน 700 รายการ
  • รพท ไม่เกิน 550 รายการ
  • รพช. ไม่เกิน 375 รายการ
  • สอ. ไม่เกิน 100 รายการ
( ยา 1 รายการ หมายถึง 1 รูปแบบและความแรง )
1. สัดส่วนรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติในบัญชีรายการยา
  • รพศ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  • รพท. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  • รพช. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  • สอ. ใช้เฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
4. การคัดเลือก ให้คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดรับผิดชอบ ดังนี้
4.1 ควบคุมอัตราการเพิ่มของรายการยาในบัญชีรายการยาของโรงพยาบาล
4.2 จำกัดจำนวนรายการยาที่มีชื่อสามัญเดียวกันหรือยาที่มี ฤทธิ์ใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกัน
1. การเสนอยาเข้าบัญชีรายการยาโรงพยาบาล 1 รายการต้องพิจารณา ตัดออก 1 รายการ ยกเว้นยากลุ่มใหม่ที่ไม่เคยมีใช้
2. นำเสนอยาเข้าบัญชีรายการยาของโรงพยาบาลให้เสนอไม่เกิน 1 ครั้งต่อปี ยกเว้นกรณีจำเป็นให้ขออนุมัติหัวหน้า ส่วนราชการเป็นกรณีไป
3. ยาที่มีชื่อสามัญ (Generic Name)เดียวกัน ให้ คัดเลือกไว้ใช้ในโรงพยาบาลเพียงชื่อสามัญละ 1 รายการ (ตามรูปแบบยาและความแรง)
4. ยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันและออกฤทธิ์ใกล้เคียงกันหรือ คล้ายคลึงกันให้คัดเลือกไว้ใช้ไม่เกิน 2 รายการ
5.การจัดหาและประกัน คุณภาพยา ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล/หัวหน้าหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้
5.1 ให้จัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติมากขึ้นทั้งเงินงบประมาณและเงินบำรุงในสัดส่วนที่สูงขึ้นให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและหัวหน้าส่วนระดับกรม รับผิดชอบ ดังนี้
5.2 ให้มีการจัดหาเวชภัณฑ์ร่วมกันหรือต่อรองราคาร่วมกันของโรงพยาบาลทุกระดับในจังหวัดหรือในสังกัดกรมต่าง ๆ
5.3 มีการประกันคุณภาพยาที่จัดซื้อจัดหา
1. ใช้เงินบำรุงจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติในระดับต่าง ๆ ดังนี้
  • รพศ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  • รพท. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  • รพช. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
1. จัดตั้งคณะกรรมการระดับกรมหรือระดับจังหวัด โดยมีผู้แทนจากทุกระดับ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
2. จัดทำกรอบบัญชีรายการยาขั้นสูงของแต่ละระดับในจังหวัด ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล และมีความ สอดคล้องกัน ระหว่างระดับต่าง ๆ ดังนี้
  • รายการยาของ สอ. เป็น ส่วนหนึ่งของรายการยาของรพช.
  • รายการยา รพช. เป็นส่วนหนึ่งของรายการยา ของ รพท. และ/หรือ รพศ.
3. กำหนดให้รายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่มีมูลค่าใช้ร่วมสูงสุด 100 อันดับแรกหรือรายการเวชภัณฑ์ที่มีมูลค่าการใช้รวมกันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของงบที่ใช้ในการ จัดซื้อเวชภัณฑ์เป็นเป้าหมายในการดำเนินการ โดยตัดรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่ GPO ผลิตออก
4. กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกคุณภาพยาในแต่ละรายการที่เหมาะสมชัดเจน
6. การผลิต 6.1 ให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปผลิตยาสนับสนุนสถานบริการระดับรอง หรือรวมศูนย์ การผลิต 1. รพศ./รพท. ที่มีศักยภาพสามารถผลิตยา สนับสนุนสถานบริการระดับรอง โดยคิดกำไรไม่เกินร้อยละ 10-20 ของราคาทุน โดยให้ชดเชยเงินด้วยการตัดโอนงบประมาณ ระหว่าง กันในจังหวัด
7. การสำรองและ กระจายยา ให้กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรมรับผิดชอบดำเนินการ ดังนี้ 7.1 ลดการสำรองยาของหน่วยงาน 7.2 ลดการสำรองยาหรือยาเหลือค้างในหอผู้ป่วย 1. ลดการสำรองยาในคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลลงเหลือไม่เกิน 3 เดือน
2. ให้โรงพยาบาลชุมชนเป็นคลังสำรองยาของสถานีอนามัยในเขตอำเภอ
3. ใช้ระบบการกระจายยาแบบหนึ่งหน่วยขนาดขนาดใช้ (Unit Dose) หรือแบบรายวัน (Daily Dose)หรือจัดระบบ การติดตามเรียกเก็บยาเหลือใช้คืนจากหอผู้ป่วย
8. การใช้ยา ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรับผิดชอบ ดังนี้
8.1 ให้สนับสนุนการใช้ชื่อสามัญทางยาให้คณะกรรมการ เภสัชกรรมและการบำบัด รับผิดชอบ ดังนี้
8.2 ให้มีการสั่งใช้ยาที่สมเหตุสมผล
1. ให้แพทย์สั่งใช้ยาโดยใช้ชื่อสามัญทางยา 2. กำหนดกลุ่มยาที่เป็นกลุ่มยาควบคุมการใช้ (Restricted Drug)ของโรงพยาบาล ซึ่งจะจ่ายเมื่อเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดเท่านั้น
3. ให้มีการกำหนดนโยบายของโรงพยาบาลเกี่ยวกับ การกำหนดจำนวนวันหยุดจ่ายยาอัตโนมัติ (Automatic Stop Order)โดยเฉพาะยากลุ่มปฏิชีวนะ
4. ให้มีการติดตามและประเมินการใช้ยาใน โรงพยาบาลโดยเฉพาะ กลุ่มยาที่มีราคาแพงหรือยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดพิษหรืออาการไม่พึงประสงค์รุนแรง
5. รายงานผลการใช้ยาแก่แพทย์ ในสถานพยาบาลทราบเป็นระยะๆ

 

5 . การสนับสนุนการดำเนินการ 
5.1 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกองโรงพยาบาลภูมิภาค รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพยา และแจ้งเวียนให้ข้อมูลแก่หน่วยงานต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์และคุณภาพยารวมถึงแนวทางการคัดเลือกยาให้ได้คุณภาพ 
5.2 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบดำเนินการ •5.2.1 จัดทำบัญชีราคาอ้างอิงของยาและเวชภัณฑ์ แจ้งหน่วยงานต่าง ๆ ทราบเป็นระยะ ๆทุก 3 - 4 เดือน เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดซื้อ และเป็นข้อมูลในการกำกับราคาที่จัดซื้อ
5.2.2 รวบรวม/วิเคราะห์ความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ เสนอกระทรวงและแจ้งเวียนหน่วยงานต่าง ๆ ทราบเป็นระยะ ๆ
5.2.3 ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการบริหารเวชภัณฑ์
5.3 กรมและกองต้นสังกัด รับผิดชอบ 
5.3.1 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของสถานบริการระดับต่าง ๆในสังกัด ด้วยความโปร่งใสเป็นธรรม โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการและมีการกำหนดเกณฑ์ การจัดสรรที่ชัดเจน 
5.3.2 ติดตาม ควบคุมกำกับ การดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด
6. การกำกับการ
6.1 กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญต่อการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ รวมทั้ง การกำกับการประเมินผลความก้าวหน้าด้วยตนเอง (self monitoring and evaluation) โดยสถานพยาบาลแต่ละแห่งและโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 
6.2 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ดังนี้ •กำกับการ และประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการข้างต้นโดยใช้ดัขนีชี้วัดที่เหมาะสม 
นำเสนอผลความก้าวหน้าในการดำเนินการและผลการประเมินแก่กระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะ ๆ เพื่อการปรับนโยบายให้เหมาะสมมากขึ้น
6.3 สำนักตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ควบคุมกำกับติดตาม นิเทศ และแก้ปัญหาการปฏิบัติงานของหน่วยงานในเขตรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนด 
6.4 คณะกรรมการประสานและพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ มีหน้าที่ ประสาน ติดตามและให้ข้อเสนอแนะแก่กระทรวงในเรื่องเกี่ยวกับระบบบริหารเวชภัณฑ์
7. ระยะเวลาดำเนินการ 
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2542 เป็นต้นไป 

 

 





วันที่ประกาศข่าว : 07 ก.พ. 2563 -    จำนวนผู้เข้าชม 21420 View