ประเด็น |
มาตรการ |
เป้าหมาย |
1. การบริหารจัดการ ด้านยาและเวชภัณฑ์ |
ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด/ผู้อำนวยการ/หัวหน้าหน่วยงาน รับผิดชอบ
1.1 ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ยาและเวชภัณฑ์ มีส่วนร่วม ในการบริหาร จัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ในทุกระดับ โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ |
1. มีคณะกรรมการในทุกระดับ
- ระดับจังหวัด มีคณะกรรมการ บริหารเวชภัณฑ์ระดับจังหวัด
- ระดับอำเภอ มีคณะกรรมการประสานงาน สาธารณสุขระดับอำเภอ
- ระดับหน่วยงาน มีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โดย คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีจัดซื้อวัสดุการแพทย์อาจคัดเลือกตัวแทนจากทันตแพทย์รังสีแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาลเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย
|
|
1.2 คณะกรรมการรับผิดชอบ
- กำหนดนโยบายด้านเวชภัณฑ์ในแต่ละระดับ
- ควบคุม กำกับ ติดตาม ให้ดำเนินการ ตามระเบียบและมาตรการ
- ประเมินและร่วมแก้ไขปัญหาด้านเวชภัณฑ์
- รายงานผลการดำเนินการตามแบบฟอร์มที่กำหนด ให้ระดับที่เหนือขึ้นไปและส่วนกลางทราบ
|
1. มีการประชุมไม่น้อยกว่าปีละ 3 ครั้งและมีบันทึกการประชุมชัดเจน พร้อมให้ตรวจสอบ |
2. การกำหนด |
ให้ผู้อำนวยการ/หัวหน้าหน่วยงาน รับผิดชอบ |
|
ความต้องการ |
2.1 ให้มีแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของหน่วยงานที่ชัดเจน |
1. มีแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ประจำปี
2. กรณีที่ต้องมีปรับแผนให้เสนอคณะกรรมการ แต่ละระดับพิจารณาอนุมัติ |
|
2.2 การขออนุมัติซื้อจะต้องเสนอข้อมูลประกอบการพิจารณาที่ครบถ้วน |
1. การขออนุมัติซื้อจะต้องเสนอข้อมูล
- ปริมาณในการใช้ที่ผ่านมา
- จำนวนรายการที่เหลือ
- จำนวนที่จะซื้อ
- ราคาที่จัดซื้อครั้งหลังสุด
- ราคาที่จะซื้อในครั้งนี้
- ราคากลาง หรือราคาอ้างอิง (ถ้ามี)
|
3. บัญชีรายการยา ของโรงพยาบาล |
ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล/หัวหน้าหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้
3.1 ลดจำนวนรายการยาในบัญชีรายการยาของโรงพยาบาลลง โดยกำหนดจำนวนรายการที่ควรมีในโรงพยาบาลแต่ละระดับให้ชัดเจน
3.2 เพิ่มการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยกำหนดสัดส่วน จำนวนรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในบัญชีรายการยา ของโรงพยาบาลแต่ละระดับที่ชัดเจน |
1. จำนวนรายการยาใน บัญชีรายการยา
- รพศ. (ร.ร.แพทย์) ไม่เกิน 750 รายการ
- รพศ. ไม่เกิน 700 รายการ
- รพท ไม่เกิน 550 รายการ
- รพช. ไม่เกิน 375 รายการ
- สอ. ไม่เกิน 100 รายการ
( ยา 1 รายการ หมายถึง 1 รูปแบบและความแรง )
1. สัดส่วนรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติในบัญชีรายการยา
- รพศ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
- รพท. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- รพช. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
- สอ. ใช้เฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
|
4. การคัดเลือก |
ให้คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดรับผิดชอบ ดังนี้
4.1 ควบคุมอัตราการเพิ่มของรายการยาในบัญชีรายการยาของโรงพยาบาล
4.2 จำกัดจำนวนรายการยาที่มีชื่อสามัญเดียวกันหรือยาที่มี ฤทธิ์ใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกัน |
1. การเสนอยาเข้าบัญชีรายการยาโรงพยาบาล 1 รายการต้องพิจารณา ตัดออก 1 รายการ ยกเว้นยากลุ่มใหม่ที่ไม่เคยมีใช้
2. นำเสนอยาเข้าบัญชีรายการยาของโรงพยาบาลให้เสนอไม่เกิน 1 ครั้งต่อปี ยกเว้นกรณีจำเป็นให้ขออนุมัติหัวหน้า ส่วนราชการเป็นกรณีไป
3. ยาที่มีชื่อสามัญ (Generic Name)เดียวกัน ให้ คัดเลือกไว้ใช้ในโรงพยาบาลเพียงชื่อสามัญละ 1 รายการ (ตามรูปแบบยาและความแรง)
4. ยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันและออกฤทธิ์ใกล้เคียงกันหรือ คล้ายคลึงกันให้คัดเลือกไว้ใช้ไม่เกิน 2 รายการ |
5.การจัดหาและประกัน คุณภาพยา |
ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล/หัวหน้าหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้
5.1 ให้จัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติมากขึ้นทั้งเงินงบประมาณและเงินบำรุงในสัดส่วนที่สูงขึ้นให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและหัวหน้าส่วนระดับกรม รับผิดชอบ ดังนี้
5.2 ให้มีการจัดหาเวชภัณฑ์ร่วมกันหรือต่อรองราคาร่วมกันของโรงพยาบาลทุกระดับในจังหวัดหรือในสังกัดกรมต่าง ๆ
5.3 มีการประกันคุณภาพยาที่จัดซื้อจัดหา |
1. ใช้เงินบำรุงจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติในระดับต่าง ๆ ดังนี้
- รพศ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
- รพท. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
- รพช. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
1. จัดตั้งคณะกรรมการระดับกรมหรือระดับจังหวัด โดยมีผู้แทนจากทุกระดับ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
2. จัดทำกรอบบัญชีรายการยาขั้นสูงของแต่ละระดับในจังหวัด ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล และมีความ สอดคล้องกัน ระหว่างระดับต่าง ๆ ดังนี้
- รายการยาของ สอ. เป็น ส่วนหนึ่งของรายการยาของรพช.
- รายการยา รพช. เป็นส่วนหนึ่งของรายการยา ของ รพท. และ/หรือ รพศ.
3. กำหนดให้รายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่มีมูลค่าใช้ร่วมสูงสุด 100 อันดับแรกหรือรายการเวชภัณฑ์ที่มีมูลค่าการใช้รวมกันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของงบที่ใช้ในการ จัดซื้อเวชภัณฑ์เป็นเป้าหมายในการดำเนินการ โดยตัดรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่ GPO ผลิตออก
4. กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกคุณภาพยาในแต่ละรายการที่เหมาะสมชัดเจน |
6. การผลิต |
6.1 ให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปผลิตยาสนับสนุนสถานบริการระดับรอง หรือรวมศูนย์ การผลิต |
1. รพศ./รพท. ที่มีศักยภาพสามารถผลิตยา สนับสนุนสถานบริการระดับรอง โดยคิดกำไรไม่เกินร้อยละ 10-20 ของราคาทุน โดยให้ชดเชยเงินด้วยการตัดโอนงบประมาณ ระหว่าง กันในจังหวัด |
7. การสำรองและ กระจายยา |
ให้กลุ่มงาน/ฝ่ายเภสัชกรรมรับผิดชอบดำเนินการ ดังนี้ 7.1 ลดการสำรองยาของหน่วยงาน 7.2 ลดการสำรองยาหรือยาเหลือค้างในหอผู้ป่วย |
1. ลดการสำรองยาในคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลลงเหลือไม่เกิน 3 เดือน
2. ให้โรงพยาบาลชุมชนเป็นคลังสำรองยาของสถานีอนามัยในเขตอำเภอ
3. ใช้ระบบการกระจายยาแบบหนึ่งหน่วยขนาดขนาดใช้ (Unit Dose) หรือแบบรายวัน (Daily Dose)หรือจัดระบบ การติดตามเรียกเก็บยาเหลือใช้คืนจากหอผู้ป่วย |
8. การใช้ยา |
ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรับผิดชอบ ดังนี้
8.1 ให้สนับสนุนการใช้ชื่อสามัญทางยาให้คณะกรรมการ เภสัชกรรมและการบำบัด รับผิดชอบ ดังนี้
8.2 ให้มีการสั่งใช้ยาที่สมเหตุสมผล |
1. ให้แพทย์สั่งใช้ยาโดยใช้ชื่อสามัญทางยา 2. กำหนดกลุ่มยาที่เป็นกลุ่มยาควบคุมการใช้ (Restricted Drug)ของโรงพยาบาล ซึ่งจะจ่ายเมื่อเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดเท่านั้น
3. ให้มีการกำหนดนโยบายของโรงพยาบาลเกี่ยวกับ การกำหนดจำนวนวันหยุดจ่ายยาอัตโนมัติ (Automatic Stop Order)โดยเฉพาะยากลุ่มปฏิชีวนะ
4. ให้มีการติดตามและประเมินการใช้ยาใน โรงพยาบาลโดยเฉพาะ กลุ่มยาที่มีราคาแพงหรือยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดพิษหรืออาการไม่พึงประสงค์รุนแรง
5. รายงานผลการใช้ยาแก่แพทย์ ในสถานพยาบาลทราบเป็นระยะๆ |